วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 07 : M-Commerce

M-Commerce (Mobile Commerce)

เป็นการทำธุรกิจผ่านเครือข่ายเช่นเดียวกับ E-Commerce โดยเป็นการอาศัยช่องทาง(device)ไร้สาย อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มี Smartphone ที่ช่วยเหลือให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมต่างๆมากขึ้น

ประโยชน์ของ M-Commerce
สามารถใช้งานได้ทุกที่ มีความสะดวกสบายเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำัหรับแต่ละบุคคล โทรศัพท์เคลื่อนที่จึงแพร่หลายมากขึ้น อีกทั้งการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่ิอนที่นั้นสามารถทำได้ทันที และมีความเป็นส่วนบุคคลมากกว่า

ข้อจำกัด M-Commerce
อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายยังไม่สามารถเข้าถึงได้ทั่วถึง ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ในบางแหล่ง

แรงผลักดันที่ก่อให้เกิด M-Commerce และแนวโน้ม
ดังที่กล่าวในข้างต้น ความนิยมในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อีกทั้งจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีศักยภาพมากขึ้น ทำให้ในอนาคตการทำธุรกิจบนมือถือจะเริ่มแพร่หลายและเข้ามาแทนที่การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และหลังจากนี้ ระบบต่างๆ อาทิ 3.5G ก็จะได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานที่มีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้น

ระบบการจัดการที่เกี่ยวข้ิองกับ M-Commerce
WAP (Wireless Application Protocol)
Markup Languages ภาษาที่ใช้พัฒนาโปรแกรม เช่น WML, XHTML
Mobile Development เช่น NET compact, Java ME, Python
Mobile Emulators เป็นโปรแกรมที่ทำให้สามารถเล่นโปรแกรมซ้อนโปรแกรมได้
Microbrowsers เช่น Android, Safari, IE mobile, Firefox mobile
HTML5 เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้หน้าเว็บสามารถ update ตัวเองโดยอัตโนมัติเมื่อนักพัฒนามีการอัพเดตเพิ่มเติม

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 06 : E -Commerce

E-Business & E-Commerce
เป็นการทำธุรกิจหรือการค้าขายบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้เกิดรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มช่องทางความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน เป็นลักษณะทางธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต

ตัวอย่างการใช้งาน
Dell - ริเริ่มการขายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ด้วยการให้ customized ตามที่ต้องการได้ด้วย (built-to-order) เป็นการเปิดช่องทางใหม่จากเดิมที่มีแต่การขายหน้าร้าน อีกทั้งยังใช้การให้บริการทุกอย่างออนไลน์

Amazon - เริ่มต้นจากการขายหนังสือก่อน เพื่อกลบข้อด้อยของร้านปกติไม่สามารถเก็บหนังสือได้หมด เก็บได้แต่หนังสือดังๆ การขายบนอินเตอร์เน็ตจึงช่วยให้สามารถนำเสนอหนังสืออื่นๆได้มากขึ้น (Long tail marketing)

ความจำเป็นของE-Business & E-Commerce
Click&Mortar VS Brick& Mortar
C&M บริษัทที่มีออนไลน์และมีหน้าร้านด้วย
B&M มีหน้าร้านอย่างเดียว
ข้อดี
-เพิ่มทางเลือกในการติดต่อได้หลายช่องทาง
ข้อเสีย
-เพิ่มต้นทุน เนื่องจากต้องบริหารหลายทาง

ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จำเป็นต้องมีระบบการให้บริการแบบออนไลน์ด้วย แล้วแต่ว่ามีลักษณะธุรกิจแบบใด มีความจำเป็นหรือไม่

ประโยชน์ของ E-Business & E-Commerce
- To organization : ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ
- Customers : เพิ่มช่องทางความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย
- Society : เชื่อมโยงสังคมเข้าหากัน

ข้อจำกัด
- Technological Limitation: ความจำกัดของเทคโนโลยี อาทิ ความจำกัดของเบราเซอร์
- Non-Technological limitation : ความปลอดภัยของข้อมูล

ตัวอย่างรูปแบบการทำ E-Commerce & E-Business
E-catalog การนำเสนอรายการสินค้าให้เลือกได้บนหน้าจอ
E-Auction เปิดประมูลบนอินเตอร์เน็ต ให้คนจากทั่วโลกได้สามารถร่วมกันประมูลสินค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมในสถานที่จำเพาะ เพิ่มอัตราการแข่งขัน ช่วยให้ราคาขึ้นไปสูงได้มากขึ้นเนื่องจากคนต้องการที่จะเอาชนะกัน
Bartering การเปิดพื้นที่ให้คนทั่วโลกได้แลกสิ่งของที่ตนเองต้องการซึ่งกันและกัน เป็นการช่วยลดการใช้งานทรัพยากร
Customer Service Online ระบบให้บริการลูกค้าออนไลน์ ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องตั้งศูนย์ในประเทศของตนเอง สามารถอาศัยการ Outsourcing ออกไปในต่างประเทศได้ ช่วยในเรื่องการควบคุมต้นทุนการทำงาน


ลูกเล่นต่างๆที่เกิดขึ้นในการทำ E-Commerce
Freemium : รูปแบบธุรกิจที่เสนอสินค้าระดับปกติให้ผู้ใช้ได้ใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะคิดราคาเพิ่มกับผู้ที่ต้องการบริการที่เพิ่มขึ้น อาทิ เวปไซท์ให้พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ (megaupload, mediafire) ที่จะให้เพิ่มความเร็วและพื้นที่ในการเก็บไฟล์ให้กับผู้ใช้งานแบบเสียเงิน

Social Commerce : การเปิดพื้นที่ให้”เพื่อน”แนะนำ”เพื่อน” บนพื้นที่ออนไลน์ ตัวอย่าง "มีเพื่อนคุณจำนวน () คนที่ใช้() อยู่" บน Facebook

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 05 : IT Justify & Evaluation

แนวโน้มของเทคโนโลยี
แนวโน้มของเทคโนโลยีตามทฤษฎีของ Moore กล่าวไว้ว่า ต่อไปในอนาคตความสามารถของเทคโนโลยีจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาจะต่ำลง ซึ่งหมายความว่าเราจะได้มาซึ่ง IT ได้ง่ายขึ้น หากแต่แท้จริงแล้วการมีเทคโนโลยีที่นำสมัยนั้นช่วยให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้นจริงหรือไม่

Productivity Paradox
เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดการแปรผกผันระหว่างความล้ำสมัยในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเจริญเติบโตของบริษัทในองค์รวม ทั้งที่มีเทคโนโลยีที่ดี หากแต่ไม่่ช่วยให้อัตราการเติบโตของบริษัทดีึขึ้น กลับยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้า จึงกลายเป็นข้อกังขาว่าแท้จริงแล้ว IT สามารถช่วยให้บริษัทเจริญเติบโตได้จริงหรือไม่

อย่างไรก็ดี หากมาดูกันให้ลึกแล้ว ผลที่ได้จากระบบ IT มักไม่ใช่กำไรที่เห็นได้ชัด(direct Impact) หากแต่เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน(Second Impact) จึงต้องมีการประเมินผลตอบแทนระยะยาวที่จะได้รับจากการลงทุนใน IT เพื่อใช้ในการตัดสินใจที่เหมาะสม

ขั้นตอนการตัดสินใจ
1. พิจารณาปัจจัยความต้องการพื้นฐานของบริษัทและกำหนดมูลค่าที่จะใช้วัด ROI
2. ค้นคว้าข้อมูลและประเมิน
3. ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
4. ระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย
5. ตรวจสอบว่าโครงการนี้สามารถเพิ่มความสามารถของบริษัทได้หรือไม่
6. ไม่ประเมินค่าใช้จ่ายต่ำเกินไปหรือผลประโยชน์สูงเกินไป
7. ตกลงกับทุกฝ่าย ซึ่งหมายรวมถึงผู้ขายและผู้จัดการระดับสูง

ความยากในการประเมินผลและการแก้ไข
สืบเนื่องจากการลงทุนใน IT เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่ไม่มีตัวตน จึงเป็นการยากที่จะระบุลงไปอย่างชัดเจนนว่าควรจะนำปัจจัยใดมาใช้ในการวัดค่า แล้วจะตีมูลค่าเป็นตัวเิงินได้อย่างไร ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการตีมูลค่าคร่าวๆออกมาเพื่อวัดผล แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ประเมินค่าสูงหรือต่ำเกินไปจากความเป็นจริง

ตัวอย่างวิธีการตัดสินใจลงทุนใน IT
Financial การตัดสินใจโดยใช้ปัจจัยที่ตีมูลค่าเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
Multi-criteria การตัดสินใจโดยใช้ทั้งปัจจัยทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจและมูลค่าที่รวดเร็วขึ้นจากการใช้ IT เป็นต้น
Ratio ใช้อัตราส่วน อาทิ ค่าใช้จ่ายทาง IT เปรียบกับ total turnover เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
Portfolio กำหนดตำแหน่งของเงื่อนไขในการลงทุนเปรียบเทียบกัน

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 04 : Outsourcing & Acquisition

Outsourcing 
ความหมายและประโยชน์
เป็นการนำงานที่ไม่ใช่ส่วนงานหลักหรือความสามารถหลักขององค์กรไปจ้างวานผู้อื่นให้ทำแทน เพื่อนำเวลาไปพัฒนาความสามารถหลักของตนหรือนวัตกรรมใหม่ รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาทำงานจากการนำงานให้ผู้ที่เชี่ยวชาญจัดการ โดยปกติแล้วจะใช้ในการดูแลระบบรวมถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ

ต้นทุนแฝง (hidden cost)
แม้ว่าการOutsource จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่การจะทำได้นั้นบริษัทจะต้องคิดในส่วนของต้นทุนแฝง อาทิ การเปรียบเทียบและวิเคราะห์หาผู้รับทำงาน การติดต่อทำสัญญา การถ่ายทอดองค์ความรู้ออกสู่บุคคลภายนอก ไปจนถึงการนำระบบที่จ้างวานคนภายนอกเข้ามาเชื่อมต่้อกับระบบของบริษัท

ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง (Risk and Risk Management)
อย่างไรก็ดี การจ้างวานให้ผู้อื่นทำให้อาจมีความเีสี่ยง ทั้งในแง่ที่อีกฝ่ายอาจจะทำงานให้ไม่เต็มที่ (shirking) ผู้รับจ้างวานนำองค์ความรู้ของเีราไปขายให้บริษัทอื่น (poaching) หรือการถูกปรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจ้างผู้รับจ้างวานในสัญญาระยะยาว (Opportunistic repricing) ซึ่งการจะช่วยบริหารความเสี่ยงเหล่านี้ให้ลดลงได้มีกลยุทธ์หลากหลายวิธี อาทิ การทำความเข้าใจโครงการ การแบ่งโครงการเป็นส่วน พยายามจดสัญญาระยะสั้น เป็นต้น

Offshore Outsourcing
โดยการนำงานออกไปจ้างวานผู้อื่นนั้น อาจเป็นการจ้างวานนอกประเทศก็ได้ (offshore outsourcing) ซึ่งอาจจะช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต่ำกว่า อาทิ ค่าแรง แต่การทำเช่นนี้จะต้องระมัดระวังในเรื่องของความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ อาทิ กฎหมาย วัฒนธรรม ลักษณะสภาพธุรกิจ อันจะส่งผลต่อศักยภาพและความกลมกลืนกันของงาน งานบางประเภทไม่เหมาะกับการจ้างวานนอกประเทศ อาทิ งานที่ไม่มีลักษณะเป็นกิจวัตรหรือทำอย่างสม่ำเสมอ (non-routine) งานที่ต้องการองค์ความรู้เฉพาะัทางเพื่อจัดการดำเนินระบบนั้น

IT Acquisition
คือการได้มาซึุ่งระบบสารสนเทศ โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ซื้อ เช่า ทำเอง

โดยกระบวนการหลักของการได้มาซึ่งสารสนเทศจะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
1.Planing, identifying &justifying IT-based systems
2.Creating an IT architecture
3.Selecting an acquisition option
4.Testing, Installing, integrating & deploying IT applications
5.Operations, Maintenance & Updating

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613] Case 03 : Dollar General

Dollar General


1. อธิบายเหตุผลที่ระบบการทำงานแบบเก่า (the old, non-integrated functional system) สร้างปัญหาให้ักับบริษัท จงระบุ
ระบบการทำงานเดิมที่ไม่มีความเชื่อมต่อกันในแต่ละส่วนงาน อาศัยการจัดการข้อมูลแบบ Manual ตั้งแต่การตรวจสอบเอกสารสั่งซื้อ ใบเรียกเก็บเงิน(Invoice) กับสิ่งที่ได้รับจริงก่อนที่จะชำระเงิน เมื่อบริษัทเริ่มขยายสาขาออกไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาหลักคือ การขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และปัญหาของการได้รับข้อมูลไม่ทันในเวลาที่ต้องการ

เริ่มมาจากการที่ระบบไอทีไม่สามารถทำรายงานข้อมูลที่แต่ละแผนกต้องการได้อย่างทันเวลา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจัดการสินทรัำพย์ไปจนถึงบัญชีแยกประเภท ซึ่งในส่วนนี้เองที่เป็นปัญหาหลักของปัญหาทั้งหมด การที่ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือไม่สามารถไปถึงมือของแผนกที่ต้องการได้อย่างทันท่วงทีย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา อาทิ การติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากอัตราภาษีที่้เปลี่ยนไประหว่างรัฐ กาีรจัดการข้อมูลของฝ่ายบุคคล

2.ระบบใหม่มีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลายล้านดอลล่า ในความคิดเห็นของคุณคิดว่าเหตุใดบริษัทจึงจำเป็นต้องติดตั้งระบบใหม่นี้

การลงทุนในระบบใหม่จะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงกันในแต่ละหน่วยงานมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากเมื่อบริษัทมีความตั้งใจที่จะขยายสาขาออกไปเป็นจำนวนมากเช่นนี้ การรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานให้ได้ตามเวลาที่ต้องการ (Timeliness) จึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการนำระบบจัดการข้อมูลเข้ามาใช้ยังช่วยให้บริษัทลดความผิดพลาดจากเดิมที่ใช้การรวบรวมข้อมูลแบบ Manual ซึ่งมีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายสูง

3.ตรวจสอบข้อมูลระบบของ Lawson - Smart Notification แล้วออกความเห็นว่าควรนำมาใ่ช้หรือไม่


Smart Notification

ระบบจัดการข้อมูลดิบให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและพร้อมใช้งาน รวมถึงทำการจัดส่งเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นไปที่หน่วยงานต่างๆโดยทันที อาิทิ การจัดทำรายงานทางบัญชี
ซึ่งระบบ Smart Notification นี้จะช่วยให้การทำงานรวมถึงการตัดสินใจฃเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นเนื่องจากระบบได้จัดการเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลที่จำเป็นออกมาให้ตรงกับความต้องการและทันต่อเวลา รวมถึงยังสามารถปรับให้มีระดับของการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เท่ากันในแต่ละตำแหน่งงานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยอีกด้วย ซึ่งSmart Notification

4.คุณจะแนะนำระบบ Services Automation ของ Lawson ให้กับบริษัทหรือไม่ เพราะเหตุใด
Services Automation
โปรแกรมที่ช่วยในเรื่องของการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารข้อมูลและทรัพยากรของบริษัทโดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลเพื่อคาดการณ์หรือพยากรณ์(forecast)ในด้านต่างๆเพื่อการวางกลยุทธ์ต่อไป สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนงานดังนี้

1. Opportunity Management การจัดการเกี่ยวกับการทำงานและแนวโน้มโอกาสของบริษัท อาทิ การพยากรณ์กำลังการผลิต การคาดการณ์รายได้ การวิเคราะห์ยอดขาย
2. Project Management การจัดการเกี่ยวกับการลงทุน อาทิ พยากรณ์ต้นทุนที่จะใช้ในการลงทุน วิเคราะห์กลยุทธ์ีที่ใช้ในการลงทุนปัจจุบัน
3. Resource Management การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรของบริษัทเพื่อใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ซึ่งการพยากรณ์แนวโน้มเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจขยายกิจการลงทุนของ DG มาก จึงมีความเห็นว่าบริษัทควรจะนำระบบ SA มาใช้เพื่อช่วยให้การวางกลยุทธ์เป็นไปได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 03 : Transaction Processing System

Transaction Processing System
ระบบประมวลผลข้อมูล เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ในการบันทึกรายการขององค์กรและนำไปประมวลผลเพื่อนำส่งให้กับระบบอื่นต่อไป เรียกได้ว่าเป็นหัวใจขององค์กรก็ว่าได้ ตัวอย่างการใช้งาน อาทิ ระบบบัญชีลูกหนี้/เจ้าหนี้ ระบบบัญชีแยกประเภท เป็นต้น โดยผู้ใช้ระบบ TPS หลักคือ บุคคลากรระดับปฎิบัติการขององค์กร

ลักษณะทั่วไป
1. จากเดิมที่อยู่ในสงครามเข้าถึงง่าย ราคาถูก
2. คนมีศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
3. ช่วยในเรื่องการทำงานแบบซ้ำๆ
4. เป็นข้อมูลแรกเริ่ม ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก การใส่ข้อมูลเข้าไปในตอนแรกจึงมักจะมีรูปแบบการใส่ข้อมูลที่เป็นระเบียบตายตัว รวมถึงมีการประมวลผลที่ อาทิ การใส่ข้อมูลการฝากเงิน การอ่านบาร์โค้ด ความซับซ้อนน้อย แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายใน

วงจรการประมวลผล
- Data Entry
เก็บข้อมูลเบื้องต้นในการทำธุรกิจ อาทิ PoS ในร้านสะดวกซื้อ

- Transaction Processing
-Real time
   ประมวลผลทันที เหมาะสำหรับการดำเนินงานที่ต้องใช้ความรวดเร็ว อาทิ การจองตั๋วเครื่องบิน
   ใช้ทรัพยากรมาก (อัพเดททันทีตลอดเวลา) ค่าใช้จ่ายสูง

-Batch
  ประมวลผลเป็นรอบๆตามเวลาที่กำหนด อาทิ การเข้าเงินของธนาคาร
  ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการอัพเดทข้อมูลตลอดเวลา ค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่า

- Database Updating
- Document Report&Generation
- Inquiry Processing

วัตถุประสงค์ของ TPS
- เพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นประจำวัน
- เพื่อติดตามรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร
- เพื่อผลิตและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบประเภทอื่นๆ

ตัวอย่างการใช้งาน
ระบบสารสนเทศทางการตลาด
ระบบสารสนเทศด้านการตลาดที่กล่าวถึงนี้ เกี่ยวข้องกับการวางแผน การโฆษณา และการขายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาด มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการดําเนินการด้านการตลาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น
- Michael Dell เป็นคนริเริ่มการขายคอมออนไลน์ และสามารถ customized คอมของตัวเองได้
- Jaguar มีระบบ Made to order ผ่านการสั่งออนไลน์
- ประกัน ข้อมูลการซื้อรถก็จะถูกส่งไปบริษัทประกันต่างๆ เพื่อจัดสรรแพคเกจประกันมานำเสนอ
- โฆษณาผ่านมือถือ ผ่านอีเมลล์ social network
ระบบสารสนเทศเพื่อจัดสรรทรัพยากรบุคคล
- Recruitment การจัดหา/คัดเลือกพนักงานผ่านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
- Training Device ช่องทางการพัฒนาบุคคลากร อาทิ การอัดวิดีโอไว้เพื่อใช้ในการอบรมทีหลัง การประชุมออนไลน์ การใช้โลกเสมือนในการประชุมอบรม
- Payroll คำนวณเงินเดือนโดยอาศัยข้อมูลการเข้าออก ลา ขาดของพนักงานในฐานข้อมูล

E-Procurement การซื้อขายกันระหว่างธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613] Case 02 : FedEx

กรณีศึกษาที่ 2 : FedEx

1.ระบบเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง/ติดตั้งในกรณีศึกษานี้
Internet
รูปแบบ ผู้ขาย <-> FedEx <-> ผู้ซื้อ
-ดำเนินการบนเครือข่ายโยงใยทั่วโลก เป็นระบบที่ง่ายต่อการเข้าถึงของคนทั่วไป ทำให้ลูกค้าของ FedEx สามารถเข้าถึงระบบของ FedEx ได้ง่าย
Global Virtual Private Network (VPN)
รูปแบบ FedEx สาขา<-> FedEx สาขา
เครือข่ายกึ่งสาธารณะแต่มีระบบรักษาความปลอดภัย ใช้ในการเชื่อมโยงภายในบริษัท
Value Added Network (VAN)
รูปแบบ ฐานข้อมูล(Server) <-> FedEx
เป็นระบบเชื่อมต่อแบบoff-line เพื่อการจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้งาน หรือ Electronic data Interchange(EDI)
Leased-line connectivity
รูปแบบ  เครือข่าย
2.ระบบ IT มีส่วนช่วยพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของ FedEx อย่างไร
*เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน จากการเก็บข้อมูลไว้ในรูปของฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ทันที และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจากการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทั่วถึง
*ช่วยให้สามารถติดตามกระบวนการทำงานได้แบบ Real-time สามารถตรวจสอบความผิดพลาดได้ง่าย ทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง
*ลดต้นทุนจากการจัดเก็บข้อมูลแบบHard Copy

3. FedEx ได้นำเสนอ Personalization และ Customization ให้ผู้ใช้อย่างใด
-ความสามารถในการติดตามข้อมูลแบบรายบุคคล
-การจัดสรรบริการต่างๆให้เลือกได้ตามความต้องการ จาก Hardware/Software ที่มีอย่างหลากหลายในระดับหนึ่ง ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันสามารถเลือกฐานบริการที่เหมาะสมกับตนเองได้

4. ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
-ความรวดเร็วที่เพิ่มขึ้นในะการติดต่อข้อมูล เช่น เมื่อผู้สั่งซื้อส่งข้อมูลการสั่งซื้อให้ ทาง FedEx
-เพิ่มโอกาสในการเชื่อมต่้อผู้ซื้อกับผู้ขายเข้าด้วยกัน หรืออาจเปรียบได้ว่า FedEx เป็นตลาดเชื่อมต่อความต้องการของสองฝ่ายเข้าด้วยกัน และยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการขายไปถึงส่งสินค้า
-ลดต้นทุนจากการออกแสวงหา/โฆษณา โดยอาศัยเครือข่ายที่น่าเชื่อถือและเป็นที่รู้จักของ FedEx ในกาดำเนินกิจการ
-ความมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้า จากการที่สามารถติดตามสถานะของสินค้าได้ตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 02 : Information Technology

ระบบสารสนเทศ
ความหมายของระบบสารสนเทศ


Data > Information > Knowledge

ข้อมูล(Data) คือ เนื้อหา สาระ ข้อความ หรือ สาส์นเริ่มต้น เป็นข้อมูลดิบที่มีเนื้อหาสาระในตัวเองน้อยมาก
แต่เมื่อผ่านกระบวนการบางอย่างที่ช่วยดึง/ขยาย/เพิ่มเติมข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานหรือความเข้าใจมากขึ้น ข้อมูลนั้นก็จะกลายเป็น สารสนเทศ(Information) เช่น การนำข้อมูลเกรดของคน 1 คนในห้องทุกคนเพื่อมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อจัดอันดับของนักศึกษาในห้อง เป็นต้น ตัวเกรดในตอนแรกยังคงเป็นข้อมูล การนำข้อมูลเกรดของทุกคนมาหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยนั้นจึงเป็นสารสนเทศที่เราต้องการเพื่อสร้างองค์ความรู้ (knowledge) ที่ซึ่งสุดท้ายก็จะกลายเป็นข้อมูลชุดใหม่เพื่อนำไปใช้งานต่อๆไป
ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการได้ข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาผ่านกระบวนการให้กลายเป็นฐานความรู้ที่เราต้องการ

ประโยชน์ของสารสนเทศ
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-สร้างความเชื่อมต่อในแต่ละหน่วยงานเพื่อการใช้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มความรวดเร็วในการถ่ายทอด/ส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นในแต่ละหน่วยงาน
สร้างแนวทางการทำงานใหม่ๆ
-อาทิในกรณีของ Price Chopper การที่ทางบริษัทติดตั้งระบบ EFT/POS ทำให้บริษัทสามารถเปิดระบบ Self-Service Checkout ด้วย

ขนาดของระบบสารสนเทศ
Personal and Productivity system
ระบบที่ใช้ในระดับบุคคล อาทิ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของแต่ละบุคคล
Transaction processing system
ดำเนินและบันทึกรายการ(Transaction) ขององค์กร อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบที่สำคัญที่สุดขององค์กร เนื่องจากเป็นระบบที่คอยบันทึกการดำเนินการทุกอย่างขององค์กร
Function and management Information system
รองรับหน่วยงานต่างๆ โดยเป็นระบบที่แยกใช้งานในแต่ละฝ่าย ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรักษาความลับที่ไม่จำเป็นต้องให้ทั้งบริษัทรู้ไว้ใช้ในหน่วยงาน โดยปกติจะเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลัก (หน่วยงานสนับสนุนมักจะต้องเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยมากกว่า)
Enterprise systems (Integrated)
ระบบที่เชื่อมต่อหน่วยงานในทุกหน่วยขององค์กร
Interorganizational System
ระบบที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กร อาทิ สาขา A กับ สาขา B
Global Systems
ระบบเชื่อมต่อกันทั่วโลก
- Very Large and Special Systems
ระบบพิเศษที่เปิดเพื่อใช้งานเฉพาะทางบางอย่าง เช่น Amadeus ระบบจองตั๋วการบินโดยจะเป็นระบบฐานที่ใช้งานทั่วโลก

ระดับของสารสนเทศ
Routine System
Transaction processing system
ดำเนินและบันทึกรายการ(Transaction) ขององค์กร อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบที่สำคัญที่สุดขององค์กร เนื่องจากเป็นระบบที่คอยบันทึกข้อมูลเริ่มต้นทุกอย่างขององค์กร หากข้อมูลในส่วนนี้ผิด การวิเคราะห์ในขั้นตอนถัดๆไปก็จะเกิดปัญหาทันที เป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในหน่วยปฏิบัติการ อาทิ ระบบขาย ระบบบัญชี ระบบบริหารวัตถุดิบ เป็นต้น
Management Information system
ใช้งานในกลุ่มผู้จัดการระดับกลาง โดยจะเป็นการนำข้อมูลจาก Transaction processing system มาวิเคราะห์ อาทิ วิเคราะห์แนวโน้มของยอดขาย (Sale Forecast) โดยใช้ข้อมูลยอดขายแต่ละวันจาก เป็นต้น
Executive support system
เป็นระบบที่ต่อยอดจาก MIS ใช้ในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง โดยจะเป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ส่วนหนึงแล้วมาใช่ร่วมกับข้อมูลจากภายนอกเพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ อาทิ วางแผนการลงทุนในโครงการใหม่
Non-Routine System
Decision support system
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจในกรณีที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตาโดยเป็นระบบที่ใช้ข้อมูลจากภายนอกร่วมกับข้อมูลภายใน อาทิ การนำข้อมูลสถิติมาใช้
Group Decision Support System
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจเป็นกลุ่ม โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเพื่อลดความขัดแย้งในกรณีของการไม่ได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

ประเภทของระบบสารสนเทศ
Enterprise System
Supply Chain Management systems
แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อ สินค้าคงเหลือต่างๆ เป็นการช่วยให้ติดต่อกับSupplier ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การใช้ระบบจัดการ เมื่อสินค้าคงเหลือถึงจุดที่จะต้องสั่งสินค้า ทางระบบจะจัดการสั่งซื้อกับทาง Supplier อัตโนมัติ
Customer Relationship Management Systems
ความเชื่อมต่อกับลูกค้า อาทิ การใช้บัตรสมาชิกเพื่อสะสมข้อมูลการซื้อและนำไปใช้ในการพยากรณ์สินค้าที่ลูกค้ามีแนวโน้มว่าจะซื้อเพื่อนำไปใช้ในการโฆษณาต่อไป
Knowledge Management system
เก็บองค์ความรู้เอาไว้เพื่อนำมาใช้ต่อในอนาคต เป็นการลดต้นทุนจากการลองผิดลองถูกซ้ำๆ รักษาความรู้ขององค์กรให้ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับบุคคล รวมถึงดึงความเชี่ยวชาญจากแต่ละบุคคลมารวบรวม แล้วแตกความคิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ กลายเป็นความเฉลียวฉลาด (Wisdom) ขององค์กร อันจะนำไปสู่ความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ตัวอย่างระบบการจัดการองค์ความรู้ เช่น KPI
Collaboration and communication system
เทคโนโลยีที่เกี่ยวของกับสารสนเทศ ใช้ในการเชื่อมต่อ
ตัวอย่างเช่น
Intranet
ระบบเชื่อมต่อภายในองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพนักงาน แตกต่างจาก Internet ที่เชื่อมต่อทั่วโลก ทำให้ความเป็นส่วนตัวหรือความปลอดภัยของ Intranet จะมีมากกว่า
Extranet
ระบบเชื่อมต่อระหว่างองค์กรต่อองค์กร แม้ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อภายนอก แต่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวได้มากกว่า Internet เนื่องจากจำกัดไว้ในระหว่างองค์กรด้วยกัน
Cell phone and smart phones
โทรศัพท์ที่ใช้ภายในองค์กรณ์โดยเฉพาะ
Social Networking
ระบบเครือข่ายออนไลน์เพื่อการติดต่องาน
Wikis
โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนองค์ความรู้ร่วมกันในองค์กร
Virtual worlds
โลกเสมือน อาทิ เกมออนไลน์, Second Life รวมไปถึงการเรียนรู้ในโลกเสมือนจริง การประชุม เป็นต้น

การใช้งานระบบสารสนเทศ
E-Business อาทิ E-commerce
E-Government อาทิ การเสียภาษีออนไลน์

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 01 : Introduction

Information Technology &Information System

ตั้งแต่เริ่มตื่นนอนตอนเช้า ชีวิตของคนในปัจจุบันมีความเกี่ยวของกับเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในยุคสมัยที่โลกเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว นวัตกรรมเพื่อความสะดวกสบายต่างๆเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  ทั้งยังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ การเรียนรู้ IT จึงเป็นสิ่งสำคัญ

บทบาทของ IT กับการทำงาน
ไม่ว่าจะเป็นวงจรการทำงานหลักอย่างเช่น บัญชี การผลิต การเงิน หรือวงจรสนับสนุน อาทิ ฝ่ายจัดการบุคคลากร การตลาด กฎหมาย ฯลฯ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดการวงจรต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังช่วยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การใช้ระบบ GPS เพื่อติดตามข้อมูลเส้นทางการ เดินรถของพนักงาน ทั้งยังช่วยในการวิเคราะห์เส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อลดต้นทุนค่าพลังงานอีกด้วย ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของ IT นี้เองทำให้ PAมีความจำเป็นต้องเข้าใจทั้งระบบการดำเนินงานแบบปกติและ IT

อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการทำงานคือ การต่อต้านจากผู้ใช้งานที่ยังขาดความเข้าใจจึงกลัวการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ การวางแผนทำระบบสารสนเทศจึงต้องให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจในกลุ่มผู้ใช้

ประโยชน์ของการรู้ IT
ดังที่กล่าวในข้างต้น ปัจจุบัน ITเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงาน และมีแนวโน้มที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ การที่เรามีความรู้ด้าน IT จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจการทำงานของระบบมากขึ้น สามารถเข้าใจถึงปัญหาเบื้องต้นที่เกิดขึ้น รวมทั้งยังอาจจะช่วยให้สามารถเล็งเห็นโอกาสจากแนวโน้มของ IT ที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

ความท้าทายของการลงทุนกับ IT
การพัฒนาเทคโนโลยีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งยังนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในวิถีการใช้ชีวิตของผู้ใช้ จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ หากการพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้าก็อาจทำให้การลงทุนนั้นสูญเปล่าได้
และด้วยความที่ IT เป็นสิ่งที่ใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ไม่ใช่การเพิ่มประสิทธิผลโดยตรง ทำให้การวัดผลที่ได้รับจากการลงทุนเป็นไปได้ยาก

แนวโน้มของ IT
ระบบสารสนเทศมีแนวโน้มจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้าน Social network หรือในด้านของการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ตัวอย่างหนึ่งที่เราจะเห็นได้ชัดคือ Digital Economy

Digital Economy
การนำสินค้าจำพวกข้อมูลหรือสื่อบันเทิงต่างๆเข้าระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองวิธีการจับจ่ายของคนที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการตั้งหน้าร้านอีกด้วย อาทิ การขายเพลงโดยวิธีดาวน์โหลด ให้ผู้ซื้อสามารถเลือกเฉพาะเพลงที่ชอบได้ หรือ Netflix การเปิดให้เช่าวิดีโอผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น