วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 02 : Information Technology

ระบบสารสนเทศ
ความหมายของระบบสารสนเทศ


Data > Information > Knowledge

ข้อมูล(Data) คือ เนื้อหา สาระ ข้อความ หรือ สาส์นเริ่มต้น เป็นข้อมูลดิบที่มีเนื้อหาสาระในตัวเองน้อยมาก
แต่เมื่อผ่านกระบวนการบางอย่างที่ช่วยดึง/ขยาย/เพิ่มเติมข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานหรือความเข้าใจมากขึ้น ข้อมูลนั้นก็จะกลายเป็น สารสนเทศ(Information) เช่น การนำข้อมูลเกรดของคน 1 คนในห้องทุกคนเพื่อมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อจัดอันดับของนักศึกษาในห้อง เป็นต้น ตัวเกรดในตอนแรกยังคงเป็นข้อมูล การนำข้อมูลเกรดของทุกคนมาหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยนั้นจึงเป็นสารสนเทศที่เราต้องการเพื่อสร้างองค์ความรู้ (knowledge) ที่ซึ่งสุดท้ายก็จะกลายเป็นข้อมูลชุดใหม่เพื่อนำไปใช้งานต่อๆไป
ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการได้ข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาผ่านกระบวนการให้กลายเป็นฐานความรู้ที่เราต้องการ

ประโยชน์ของสารสนเทศ
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-สร้างความเชื่อมต่อในแต่ละหน่วยงานเพื่อการใช้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มความรวดเร็วในการถ่ายทอด/ส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นในแต่ละหน่วยงาน
สร้างแนวทางการทำงานใหม่ๆ
-อาทิในกรณีของ Price Chopper การที่ทางบริษัทติดตั้งระบบ EFT/POS ทำให้บริษัทสามารถเปิดระบบ Self-Service Checkout ด้วย

ขนาดของระบบสารสนเทศ
Personal and Productivity system
ระบบที่ใช้ในระดับบุคคล อาทิ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของแต่ละบุคคล
Transaction processing system
ดำเนินและบันทึกรายการ(Transaction) ขององค์กร อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบที่สำคัญที่สุดขององค์กร เนื่องจากเป็นระบบที่คอยบันทึกการดำเนินการทุกอย่างขององค์กร
Function and management Information system
รองรับหน่วยงานต่างๆ โดยเป็นระบบที่แยกใช้งานในแต่ละฝ่าย ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรักษาความลับที่ไม่จำเป็นต้องให้ทั้งบริษัทรู้ไว้ใช้ในหน่วยงาน โดยปกติจะเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลัก (หน่วยงานสนับสนุนมักจะต้องเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยมากกว่า)
Enterprise systems (Integrated)
ระบบที่เชื่อมต่อหน่วยงานในทุกหน่วยขององค์กร
Interorganizational System
ระบบที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กร อาทิ สาขา A กับ สาขา B
Global Systems
ระบบเชื่อมต่อกันทั่วโลก
- Very Large and Special Systems
ระบบพิเศษที่เปิดเพื่อใช้งานเฉพาะทางบางอย่าง เช่น Amadeus ระบบจองตั๋วการบินโดยจะเป็นระบบฐานที่ใช้งานทั่วโลก

ระดับของสารสนเทศ
Routine System
Transaction processing system
ดำเนินและบันทึกรายการ(Transaction) ขององค์กร อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบที่สำคัญที่สุดขององค์กร เนื่องจากเป็นระบบที่คอยบันทึกข้อมูลเริ่มต้นทุกอย่างขององค์กร หากข้อมูลในส่วนนี้ผิด การวิเคราะห์ในขั้นตอนถัดๆไปก็จะเกิดปัญหาทันที เป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในหน่วยปฏิบัติการ อาทิ ระบบขาย ระบบบัญชี ระบบบริหารวัตถุดิบ เป็นต้น
Management Information system
ใช้งานในกลุ่มผู้จัดการระดับกลาง โดยจะเป็นการนำข้อมูลจาก Transaction processing system มาวิเคราะห์ อาทิ วิเคราะห์แนวโน้มของยอดขาย (Sale Forecast) โดยใช้ข้อมูลยอดขายแต่ละวันจาก เป็นต้น
Executive support system
เป็นระบบที่ต่อยอดจาก MIS ใช้ในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง โดยจะเป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ส่วนหนึงแล้วมาใช่ร่วมกับข้อมูลจากภายนอกเพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ อาทิ วางแผนการลงทุนในโครงการใหม่
Non-Routine System
Decision support system
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจในกรณีที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตาโดยเป็นระบบที่ใช้ข้อมูลจากภายนอกร่วมกับข้อมูลภายใน อาทิ การนำข้อมูลสถิติมาใช้
Group Decision Support System
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจเป็นกลุ่ม โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเพื่อลดความขัดแย้งในกรณีของการไม่ได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

ประเภทของระบบสารสนเทศ
Enterprise System
Supply Chain Management systems
แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อ สินค้าคงเหลือต่างๆ เป็นการช่วยให้ติดต่อกับSupplier ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การใช้ระบบจัดการ เมื่อสินค้าคงเหลือถึงจุดที่จะต้องสั่งสินค้า ทางระบบจะจัดการสั่งซื้อกับทาง Supplier อัตโนมัติ
Customer Relationship Management Systems
ความเชื่อมต่อกับลูกค้า อาทิ การใช้บัตรสมาชิกเพื่อสะสมข้อมูลการซื้อและนำไปใช้ในการพยากรณ์สินค้าที่ลูกค้ามีแนวโน้มว่าจะซื้อเพื่อนำไปใช้ในการโฆษณาต่อไป
Knowledge Management system
เก็บองค์ความรู้เอาไว้เพื่อนำมาใช้ต่อในอนาคต เป็นการลดต้นทุนจากการลองผิดลองถูกซ้ำๆ รักษาความรู้ขององค์กรให้ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับบุคคล รวมถึงดึงความเชี่ยวชาญจากแต่ละบุคคลมารวบรวม แล้วแตกความคิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ กลายเป็นความเฉลียวฉลาด (Wisdom) ขององค์กร อันจะนำไปสู่ความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ตัวอย่างระบบการจัดการองค์ความรู้ เช่น KPI
Collaboration and communication system
เทคโนโลยีที่เกี่ยวของกับสารสนเทศ ใช้ในการเชื่อมต่อ
ตัวอย่างเช่น
Intranet
ระบบเชื่อมต่อภายในองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพนักงาน แตกต่างจาก Internet ที่เชื่อมต่อทั่วโลก ทำให้ความเป็นส่วนตัวหรือความปลอดภัยของ Intranet จะมีมากกว่า
Extranet
ระบบเชื่อมต่อระหว่างองค์กรต่อองค์กร แม้ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อภายนอก แต่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวได้มากกว่า Internet เนื่องจากจำกัดไว้ในระหว่างองค์กรด้วยกัน
Cell phone and smart phones
โทรศัพท์ที่ใช้ภายในองค์กรณ์โดยเฉพาะ
Social Networking
ระบบเครือข่ายออนไลน์เพื่อการติดต่องาน
Wikis
โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนองค์ความรู้ร่วมกันในองค์กร
Virtual worlds
โลกเสมือน อาทิ เกมออนไลน์, Second Life รวมไปถึงการเรียนรู้ในโลกเสมือนจริง การประชุม เป็นต้น

การใช้งานระบบสารสนเทศ
E-Business อาทิ E-commerce
E-Government อาทิ การเสียภาษีออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น