วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 07 : M-Commerce

M-Commerce (Mobile Commerce)

เป็นการทำธุรกิจผ่านเครือข่ายเช่นเดียวกับ E-Commerce โดยเป็นการอาศัยช่องทาง(device)ไร้สาย อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มี Smartphone ที่ช่วยเหลือให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมต่างๆมากขึ้น

ประโยชน์ของ M-Commerce
สามารถใช้งานได้ทุกที่ มีความสะดวกสบายเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำัหรับแต่ละบุคคล โทรศัพท์เคลื่อนที่จึงแพร่หลายมากขึ้น อีกทั้งการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่ิอนที่นั้นสามารถทำได้ทันที และมีความเป็นส่วนบุคคลมากกว่า

ข้อจำกัด M-Commerce
อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายยังไม่สามารถเข้าถึงได้ทั่วถึง ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ในบางแหล่ง

แรงผลักดันที่ก่อให้เกิด M-Commerce และแนวโน้ม
ดังที่กล่าวในข้างต้น ความนิยมในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อีกทั้งจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีศักยภาพมากขึ้น ทำให้ในอนาคตการทำธุรกิจบนมือถือจะเริ่มแพร่หลายและเข้ามาแทนที่การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และหลังจากนี้ ระบบต่างๆ อาทิ 3.5G ก็จะได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานที่มีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้น

ระบบการจัดการที่เกี่ยวข้ิองกับ M-Commerce
WAP (Wireless Application Protocol)
Markup Languages ภาษาที่ใช้พัฒนาโปรแกรม เช่น WML, XHTML
Mobile Development เช่น NET compact, Java ME, Python
Mobile Emulators เป็นโปรแกรมที่ทำให้สามารถเล่นโปรแกรมซ้อนโปรแกรมได้
Microbrowsers เช่น Android, Safari, IE mobile, Firefox mobile
HTML5 เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้หน้าเว็บสามารถ update ตัวเองโดยอัตโนมัติเมื่อนักพัฒนามีการอัพเดตเพิ่มเติม

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 06 : E -Commerce

E-Business & E-Commerce
เป็นการทำธุรกิจหรือการค้าขายบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้เกิดรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มช่องทางความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน เป็นลักษณะทางธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต

ตัวอย่างการใช้งาน
Dell - ริเริ่มการขายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ด้วยการให้ customized ตามที่ต้องการได้ด้วย (built-to-order) เป็นการเปิดช่องทางใหม่จากเดิมที่มีแต่การขายหน้าร้าน อีกทั้งยังใช้การให้บริการทุกอย่างออนไลน์

Amazon - เริ่มต้นจากการขายหนังสือก่อน เพื่อกลบข้อด้อยของร้านปกติไม่สามารถเก็บหนังสือได้หมด เก็บได้แต่หนังสือดังๆ การขายบนอินเตอร์เน็ตจึงช่วยให้สามารถนำเสนอหนังสืออื่นๆได้มากขึ้น (Long tail marketing)

ความจำเป็นของE-Business & E-Commerce
Click&Mortar VS Brick& Mortar
C&M บริษัทที่มีออนไลน์และมีหน้าร้านด้วย
B&M มีหน้าร้านอย่างเดียว
ข้อดี
-เพิ่มทางเลือกในการติดต่อได้หลายช่องทาง
ข้อเสีย
-เพิ่มต้นทุน เนื่องจากต้องบริหารหลายทาง

ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จำเป็นต้องมีระบบการให้บริการแบบออนไลน์ด้วย แล้วแต่ว่ามีลักษณะธุรกิจแบบใด มีความจำเป็นหรือไม่

ประโยชน์ของ E-Business & E-Commerce
- To organization : ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ
- Customers : เพิ่มช่องทางความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย
- Society : เชื่อมโยงสังคมเข้าหากัน

ข้อจำกัด
- Technological Limitation: ความจำกัดของเทคโนโลยี อาทิ ความจำกัดของเบราเซอร์
- Non-Technological limitation : ความปลอดภัยของข้อมูล

ตัวอย่างรูปแบบการทำ E-Commerce & E-Business
E-catalog การนำเสนอรายการสินค้าให้เลือกได้บนหน้าจอ
E-Auction เปิดประมูลบนอินเตอร์เน็ต ให้คนจากทั่วโลกได้สามารถร่วมกันประมูลสินค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมในสถานที่จำเพาะ เพิ่มอัตราการแข่งขัน ช่วยให้ราคาขึ้นไปสูงได้มากขึ้นเนื่องจากคนต้องการที่จะเอาชนะกัน
Bartering การเปิดพื้นที่ให้คนทั่วโลกได้แลกสิ่งของที่ตนเองต้องการซึ่งกันและกัน เป็นการช่วยลดการใช้งานทรัพยากร
Customer Service Online ระบบให้บริการลูกค้าออนไลน์ ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องตั้งศูนย์ในประเทศของตนเอง สามารถอาศัยการ Outsourcing ออกไปในต่างประเทศได้ ช่วยในเรื่องการควบคุมต้นทุนการทำงาน


ลูกเล่นต่างๆที่เกิดขึ้นในการทำ E-Commerce
Freemium : รูปแบบธุรกิจที่เสนอสินค้าระดับปกติให้ผู้ใช้ได้ใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะคิดราคาเพิ่มกับผู้ที่ต้องการบริการที่เพิ่มขึ้น อาทิ เวปไซท์ให้พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ (megaupload, mediafire) ที่จะให้เพิ่มความเร็วและพื้นที่ในการเก็บไฟล์ให้กับผู้ใช้งานแบบเสียเงิน

Social Commerce : การเปิดพื้นที่ให้”เพื่อน”แนะนำ”เพื่อน” บนพื้นที่ออนไลน์ ตัวอย่าง "มีเพื่อนคุณจำนวน () คนที่ใช้() อยู่" บน Facebook

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 05 : IT Justify & Evaluation

แนวโน้มของเทคโนโลยี
แนวโน้มของเทคโนโลยีตามทฤษฎีของ Moore กล่าวไว้ว่า ต่อไปในอนาคตความสามารถของเทคโนโลยีจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาจะต่ำลง ซึ่งหมายความว่าเราจะได้มาซึ่ง IT ได้ง่ายขึ้น หากแต่แท้จริงแล้วการมีเทคโนโลยีที่นำสมัยนั้นช่วยให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้นจริงหรือไม่

Productivity Paradox
เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดการแปรผกผันระหว่างความล้ำสมัยในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเจริญเติบโตของบริษัทในองค์รวม ทั้งที่มีเทคโนโลยีที่ดี หากแต่ไม่่ช่วยให้อัตราการเติบโตของบริษัทดีึขึ้น กลับยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้า จึงกลายเป็นข้อกังขาว่าแท้จริงแล้ว IT สามารถช่วยให้บริษัทเจริญเติบโตได้จริงหรือไม่

อย่างไรก็ดี หากมาดูกันให้ลึกแล้ว ผลที่ได้จากระบบ IT มักไม่ใช่กำไรที่เห็นได้ชัด(direct Impact) หากแต่เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน(Second Impact) จึงต้องมีการประเมินผลตอบแทนระยะยาวที่จะได้รับจากการลงทุนใน IT เพื่อใช้ในการตัดสินใจที่เหมาะสม

ขั้นตอนการตัดสินใจ
1. พิจารณาปัจจัยความต้องการพื้นฐานของบริษัทและกำหนดมูลค่าที่จะใช้วัด ROI
2. ค้นคว้าข้อมูลและประเมิน
3. ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
4. ระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย
5. ตรวจสอบว่าโครงการนี้สามารถเพิ่มความสามารถของบริษัทได้หรือไม่
6. ไม่ประเมินค่าใช้จ่ายต่ำเกินไปหรือผลประโยชน์สูงเกินไป
7. ตกลงกับทุกฝ่าย ซึ่งหมายรวมถึงผู้ขายและผู้จัดการระดับสูง

ความยากในการประเมินผลและการแก้ไข
สืบเนื่องจากการลงทุนใน IT เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่ไม่มีตัวตน จึงเป็นการยากที่จะระบุลงไปอย่างชัดเจนนว่าควรจะนำปัจจัยใดมาใช้ในการวัดค่า แล้วจะตีมูลค่าเป็นตัวเิงินได้อย่างไร ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการตีมูลค่าคร่าวๆออกมาเพื่อวัดผล แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ประเมินค่าสูงหรือต่ำเกินไปจากความเป็นจริง

ตัวอย่างวิธีการตัดสินใจลงทุนใน IT
Financial การตัดสินใจโดยใช้ปัจจัยที่ตีมูลค่าเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
Multi-criteria การตัดสินใจโดยใช้ทั้งปัจจัยทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจและมูลค่าที่รวดเร็วขึ้นจากการใช้ IT เป็นต้น
Ratio ใช้อัตราส่วน อาทิ ค่าใช้จ่ายทาง IT เปรียบกับ total turnover เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
Portfolio กำหนดตำแหน่งของเงื่อนไขในการลงทุนเปรียบเทียบกัน

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613] Lecture 04 : Outsourcing & Acquisition

Outsourcing 
ความหมายและประโยชน์
เป็นการนำงานที่ไม่ใช่ส่วนงานหลักหรือความสามารถหลักขององค์กรไปจ้างวานผู้อื่นให้ทำแทน เพื่อนำเวลาไปพัฒนาความสามารถหลักของตนหรือนวัตกรรมใหม่ รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาทำงานจากการนำงานให้ผู้ที่เชี่ยวชาญจัดการ โดยปกติแล้วจะใช้ในการดูแลระบบรวมถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ

ต้นทุนแฝง (hidden cost)
แม้ว่าการOutsource จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่การจะทำได้นั้นบริษัทจะต้องคิดในส่วนของต้นทุนแฝง อาทิ การเปรียบเทียบและวิเคราะห์หาผู้รับทำงาน การติดต่อทำสัญญา การถ่ายทอดองค์ความรู้ออกสู่บุคคลภายนอก ไปจนถึงการนำระบบที่จ้างวานคนภายนอกเข้ามาเชื่อมต่้อกับระบบของบริษัท

ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง (Risk and Risk Management)
อย่างไรก็ดี การจ้างวานให้ผู้อื่นทำให้อาจมีความเีสี่ยง ทั้งในแง่ที่อีกฝ่ายอาจจะทำงานให้ไม่เต็มที่ (shirking) ผู้รับจ้างวานนำองค์ความรู้ของเีราไปขายให้บริษัทอื่น (poaching) หรือการถูกปรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจ้างผู้รับจ้างวานในสัญญาระยะยาว (Opportunistic repricing) ซึ่งการจะช่วยบริหารความเสี่ยงเหล่านี้ให้ลดลงได้มีกลยุทธ์หลากหลายวิธี อาทิ การทำความเข้าใจโครงการ การแบ่งโครงการเป็นส่วน พยายามจดสัญญาระยะสั้น เป็นต้น

Offshore Outsourcing
โดยการนำงานออกไปจ้างวานผู้อื่นนั้น อาจเป็นการจ้างวานนอกประเทศก็ได้ (offshore outsourcing) ซึ่งอาจจะช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต่ำกว่า อาทิ ค่าแรง แต่การทำเช่นนี้จะต้องระมัดระวังในเรื่องของความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ อาทิ กฎหมาย วัฒนธรรม ลักษณะสภาพธุรกิจ อันจะส่งผลต่อศักยภาพและความกลมกลืนกันของงาน งานบางประเภทไม่เหมาะกับการจ้างวานนอกประเทศ อาทิ งานที่ไม่มีลักษณะเป็นกิจวัตรหรือทำอย่างสม่ำเสมอ (non-routine) งานที่ต้องการองค์ความรู้เฉพาะัทางเพื่อจัดการดำเนินระบบนั้น

IT Acquisition
คือการได้มาซึุ่งระบบสารสนเทศ โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ซื้อ เช่า ทำเอง

โดยกระบวนการหลักของการได้มาซึ่งสารสนเทศจะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
1.Planing, identifying &justifying IT-based systems
2.Creating an IT architecture
3.Selecting an acquisition option
4.Testing, Installing, integrating & deploying IT applications
5.Operations, Maintenance & Updating